ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างกรอบตัวชี้วัด มาตรฐาน และแนวทำงการดำเนินงานสิทธิในอากาศสะอาดและการจัดการมลภาวะทางอากาศที่เป็นธรรมในพื้นที่จังหวัดเชียงให

10-มีนาคม-2566
uniserv cmu

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างกรอบตัวชี้วัด มาตรฐาน และแนวทำงการดำเนินงานสิทธิในอากาศสะอาดและการจัดการมลภาวะทางอากาศที่เป็นธรรมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรฒน์ ประธาน อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม และ นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สามารถสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

ดร.ปิ่นศักดิ์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหา PM 2.5 ต้องจัดการที่แหล่งกำเนิด แก้ไขกฎหมายป่าไม้ กำหนดตัวชี้วัดการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ใช้ความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการไฟ มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ บริหารจัดการป่าไม้ โดยเฉพาะการผลักดันในระดับนโยบาย การบริหารจัดการในระดับองค์รวม เพื่อสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

ดร. บัณฑูร เศรษฐศิโรฒน์ ประธาน อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม ได้กล่าวถึง การพัฒนาและปรับปรุงตัวขี้วัด เพื่อตอบโจทย์การแก้ไขปัญหา PM 2.5 อย่างเหมาะสม ทั้งตัวชี้วัดในด้านความสำเร็จ และความก้าวหน้าในการทำงานร่วมกัน ซึ่งตัวชี้วัดควรมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น จังหวัด ส่วนกลาง และข้ามประเทศ โดยทั้ง 4 ระดับ ควรมีตัวชี้วัดที่เหมือนกัน และแตกต่างกันตามบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยในการพิจารณาตัวชี้วัด ควรพิจารณาตั้งแต่ Input Process Output Outcome

ตัวชี้วัดด้านปัจจัยนำเข้า (Input) เช่น ข้อมูลที่มีการบูรณาการทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานภาครัฐ ข้อมูลในแต่ละ Sector เช่น ภาคเกษตร ภาคป่าไม้ เพื่อสร้างให้เกิด Big Data ของข้อมูลในลักษณะ GEO – Informatic database ที่มีลักษณะ Real Time ข้อมูล input ด้านนวัตกรรม และการถอดบทเรียน Action Research การคาดการณ์ฝุ่น ระบบงบประมาณเพื่อรองรับการทำงานทั้งในเชิง Agenda Base และ Area Base

ตัวชี้วัดด้านกระบวนการ (Process) เช่น ตัวชี้วัดที่มีการดำเนินการ่วมกันในลักษณะ PPPP การจัดทำแผนแบบบูรณาการ เช่น ชุมชน อปท. ส่วนกลาง ตัวชี้วัดที่แสดงการทำงานแบบข้ามจังหวัด และข้ามพรมแดน ระบบการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงตามความต้องการกับกลุ่มเป้าหมาย กระบวนการปรับปรุงกฎระเบียบ ทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่น เพื่อสร้างกลไกการทำงานอย่างต่อเนื่อง

ตัวชี้วัดเชิงผลผลิตและผลลัพธ์ (Output & Outcome) เช่น ตัวชี้วัดจุด Hotspot และ Bern Scar ที่มีการบริหารจัดการและไม่มีการบริหารจัดการ พื้นที่ที่ไม่เผา ตัวชี้วัดเรื่องคาร์บอน ตัวชี้วัดจำนวนวันที่ค่าฝุ่นที่ไม่เกินค่ามาตรฐาน จำนวนผู้ป่วยจากโรคระบบทางเดินหายใจ

นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาควรดำเนินการในระยะยาว ตลอดทั้งปี ไม่ใช่เฉพาะบางช่วงในระยะสั้น ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงาน ก.พ.ร. ได้มีการดำเนินการนำร่องในจังหวัดสิงห์บุรีและลำปาง ผ่านการตั้งคณะทำงานจากภาครัฐส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ภาคเอกฃน และภาคประชาชน โดยมีการประชุมติดตามการดำเนินงานตลอดทั้งปี โดยมุ่งเน้นในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ เพื่อประกอบการตัดสินใจ การนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้ และการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม การกำหนดตัวชี้วัดที่ผ่านมา พบว่า มีจุดอ่อน คือ การวัดค่าเฉลี่ยของปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 แบบรายปี ซึ่งทำให้ไม่เห็นค่าฝุ่นที่แท้จริง ในอนาคตการวัดอาจให้มีการวัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสะท้อนความสำเร็จของมาตรการ ที่เกี่ยวข้องครอบคลุมหลายหน่วยงาน นอกจากนี้ ในระดับชุมชน อาจกำหนดเป็นธรรมนูญชุมชน หรือกติการ่วมของชุมชนที่สร้างการมีส่วนร่วม อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของพื้นที่ที่ตรงตามความต้องการของชุมชน

นางพุทธิมา ตระการวนิช ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเขตที่ 10 ปัจจุบันวงเงินที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 มีจำนวนมาก และที่ผ่านมาแนวทางการแก้ไขปัญหาดำเนินการที่ปลายเหตุ ไม่ใช่การป้องกัน ซึ่งแนวทางในการจัดทำแผนงานแบบบูรณาการมีหลักที่สำคัญ คือ มีเป้าหมายร่วมกันชัดเจน สอดคล้องกับแผนแม่บทและยุทธศาสตร์ชาติ มี KPIs ร่วมกัน เป็นการทำงานข้ามกระทรวงและหลายหน่วยงาน ซึ่ง ในปี พ.ศ. 2565 ได้มีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 ที่มุ่งเน้นการทำงานในเชิง Area Agenda และ Function โดยพื้นที่สามารถของบประมาณโดยตรงไปยังสำนักงบประมาณได้

ดร. เจน ชาญณรงค์ กล่าวว่า ในปีนี้ได้มีการทดลองนำร่องการยกเลิกระบบการชิงเผาในพื้นที่แม่ปิง อุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการเผาทุกปี ปัจจัยที่สำคัญของความสำเร็จ คือ ชาวบ้านในพื้นที่ อันเป็นมิติด้านสังคมที่มีความซับซ้อน ดังนั้น สิ่งแรกที่ควรดำเนินการส่งเสริม คือ เรื่องการซื้อขายคาร์บอนเครดิต เพื่อให้ชาวบ้านได้รับเงินจากการดูแลรักษาพื้นที่ป่าไม้ ทำให้เกิด Social Economic

Cr.ข่าว Opengovthailand